วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

การจัดบริหารราชการแผ่นดิน



ระบบการบริหารราชการแผ่นดิน
ประเทศ ทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน
ความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร
โดย หลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและ บังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนด ขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้น ดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชา ใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขต ของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครอง
ของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การ บริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาล กำหนดได้ดี
ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการกฎหมายว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบ บริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
ระเบียบบริหารราชการส่วนกลางระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้อง
ถิ่น
การบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้
สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง
ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง

การจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนัก นายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการ หรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ
สำนัก นายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของ สำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและ รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรอง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ ได้
กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผน เป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กระทรวง หนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบาย ของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติ ราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรส งหรือทบวง ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง เพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วย ว่าการทบวงและมีปลัดทบวง ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ใน กฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้
(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดทบวง
(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2) (3) มีฐานะเป็น กรม
กรม หมายถึง เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระ ไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรม ใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตาม กฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น
กรม มีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะ รัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ปัจจุบัน มีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การ บังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
การ ปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้ดังตัวอย่าง
1. นายกรัฐมนตรีมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอาจมอบอำนาจให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดผู้รับมอบจะมอบต่อไปไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจัวหวัดจะ มอบต่อในจังหวัด อำเภอก็ได้
การรักษาราชการแทน ผู้ที่ได้รับอำนาจจะมีอำนาจเต็มตามกฎหมายทุกประการ ตัวอย่าง
1.นายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการไม่ได้ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรักษาราชการแทน
2. ไม่มีปลัดกระทรวงหรือมี แต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองปลัดฯ ข้าราชการไม่ต่ำกว่าอธิบดีรักษาราชการแทน
3. ไม่มีอธิบดีหรือมีแต่มาปฏิบัติราชการไม่ได้ ให้รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองรักษาราชการแทน เป็นต้น
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การ บริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมี การติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจาก การบริหารส่วนกลาง
การ บริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลาง แบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง
ลักษณะ การแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่อง การแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจ สอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้
ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดแบ่งออกได้ดังนี้
1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ
ใน จังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัว หน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดใน บรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ผู้ ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการ ตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้

(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมี หัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
2. อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้
(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การ บริหารราชการส่วนท้องถิ่นหมายถึง กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนิน งานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน
อาจกล่าว ได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ เป็นการมอบอำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง และอาจยังประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในท้องที่ได้มากกว่า เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีกว่าผู้อื่น
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล
สุขาภิบาล
ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เป็น การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดแยกเป็นส่วนต่างหากจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาคใน รูปของจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งจะมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย
สภาจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด
เทศบาล
เป็น องค์การทางการเมืองที่ดำเนินกิจการอันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนในเขตท้อง ถิ่นนั้น ๆ การจัดตั้งเทศบาลทำได้โดยการออกพระราชกฤษฎีกายกท้องถิ่นนั้น เป็นเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แบ่งเทศบาลออกเป็น
1. เทศบาลตำบล เทศบาลประเภทนี้ไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์การจัดตั้งไว้โดยเฉพาะ แต่อยู่ในดุลยพินิจของรัฐ
2. เทศบาลเมืองได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดหรือท้องถิ่น ชุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ หนึ่งหมื่น คนขึ้นไป โดยมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
3. เทศบาลนครได้แก่ท้องถิ่นที่มีประชาชนตั้งแต่ ห้าหมื่นคน ขึ้นไป และมีความหนาแน่นเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 คน ต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีเทศบาลนครเพียงแห่งเดียว คือ เทศบาลนครเชียงใหม่
องค์ประกอบของเทศบาล ประกอบด้วย
1. สภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ประชาชนเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้แทน ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของคณะเทศมนตรี
2. คณะเทศมนตรี ทำหน้าที่บริหารกิจการของเทศบาล มีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า การแต่งตั้งคณะเทศมนตรีกระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิก สภาเทศบาลเป็นคณะเทศมนตรี ด้วยความเห็นชอบของสภาเทศบาล
3. พนักงานเทศบาล เป็นผู้ปฏิบัติงานของเทศบาล โดยมีปลัดเทศบาลเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในงานทั่วไปของเทศบาล
องค์การ บริหารส่วนตำบล (อบต.) คือ หน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่นโดย ประชาชนมีอำนาจตัดสินใจในการบริหารงานของตำบลตามที่กฏหมายกำหนดไว้
อบต. ประกอบด้วย
1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมี กำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านและแพทย์ประจำตำบล ราษฎรหมู่บ้านละ 2 คน
2. คณะกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2 คนเลือกจากสมาชิกองค์การฯอีก 4 คน ประธานกรรมการบริหารและเลขานุการกรรมการบริหาร
อบต. มีหน้าที่ต้องทำในเขตอบต. ดังนี้
(1) ให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
(2) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(3) ป้องภัยโรคและระงับโรคติดต่อ
(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
(5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
(6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
(7) คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ
นอก เหนือจากหลักการโดยทั่วไปของการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูป ที่กล่าวมาแล้ว รัฐบาลได้จัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อให้เหมาะสม กับความสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชนเฉพาะแห่ง ปัจจุบันมีการจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปพิเศษ 2 แห่ง คือ
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
การบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครประกอบด้วย
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
สภากรุงเทพมหานคร
ผู้ ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร 1 คน และรองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ไม่เกิน 4 คน ทั้งผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการ กทม. เป็นข้าราชการการเมือง และได้รับเลือกตั้งจากประชาชนในกรุงเทพมหานคร
สภา กทม. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ควบคุมการบริหารราชการของผู้ว่าราชการ กทม. สภา กทม. ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน โดยถือเกณฑ์จำนวนประชาชน 1 แสนคนต่อสมาชิก 1 คน
ปลัด กรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด และตามคำสั่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบดูแลราชการประจำของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามนโยบายของกรุงเทพ มหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงาน ของกรุงเทพมหานคร
การบริหารราชการเมืองพัทยา
จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 เมืองพัทยามีฐานะเป็นนิติบุคคล ประกอบด้วย
สภา เมืองพัทยาประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ สมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน จำนวน 9 คน และสมาชิกจากการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จำนวน 8 คนสภาเมืองพัทยา จะเลือกสมาชิกคนใดคนหนึ่งเป็นนายกเมืองพัทยา สภาเมืองพัทยาทำหน้าที่ด้านนโยบายและแผนการดำเนินงาน และควบคุมการปฏิบัติงานประจำของเมืองพัทยา
ปลัด เมืองพัทยามีหน้าที่บริหารกิจการเมืองพัทยาตามนโยบายของสภาเมืองพัทยา ปลัดเมืองพัทยามาจากการแต่งตั้งโดยสภาเมืองพัทยาตามที่นายกเมืองพัทยาเสนอ ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยาอย่างน้อย 2 คน แต่ไม่เกิน 3 คน


จัดทำโดย น.ส. นิรุชา พูลสวัสดิ์ ชั้นม.4/4 เลขที่ 24

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ศาสยุติธรรม


ศาลยุติธรรมของประเทศไทยประกอบด้วยศาลหลักคือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้น เป็นศาลที่มีเขตอำนาจทั่วไปทั้งทางแพ่งและอาญาอย่างน้อยจังหวัดละ 1 ศาล ในศาลชั้นต้นผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะ มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอ หรือมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย หรือมีคำสั่งในคดีอาญา หรือพิจารณาคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกินสามแสนบาท หรือพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งมีโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท แต่จะลงโทษจำคุกเกิน 6 เดือนหรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาทไม่ได้ ส่วนในกรณีอื่นๆการพิจารณาคดีจะต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย 2 คนและต้องไม่เป็นผู้พิพากษาประจำศาลเกินหนึ่งคน จึงจะเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรืออาญาทั้งปวง ศาลจังหวัด จังหวัดนครศรีธรรมราช มีศาลจังหวัด 3 ศาล คือ ศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช ศาลจังหวัดปากพนัง ศาลจังหวัดทุ่งสง ศาลแขวง เป็นศาลระดับล่าง มีผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจทำได้ตามที่กำหนดไว้ใน พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กล่าวคือ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาความผิดเล็กๆน้อยๆทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา เช่นคดีเกี่ยวกับการพนัน โสเภณี หรือคดีอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน สามแสนบาท หรือมีอำนาจออกหมายเรียก (ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาศาลเพื่อพิจารณาพิพากษาคดี)หมายอาญา ซึ่งเป็นหนังสือบงการให้เจ้าหน้าที่ทำ การตรวจค้น จับ ขัง จำคุก หรือปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยหรือนักโทษ หรือ ตามหมายสั่งให้คนมาจากหรือไปยังจังหวัดอื่น หรืออกคำสั่งใดๆ ซึ่งมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี
ศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ (ม.21) เป็นศาลชั้นกลางที่ตั้งขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้คู่ความที่ไม่พอใจในคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น ได้มีสิทธิที่จะขอให้ศาลลำดับที่สูงกว่าซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาที่มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าได้ ทำการพิจารณาพิพากษาอีกครั้งหนึ่ง อันเป็นการให้หลักประกันความยุติธรรมแก่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อย “สามคน”จึงจะเป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ คดีอุทธรณ์นี้อาจจะเป็น “คดีลหุโทษหรือคดีอุกฉกรรจ์ หรือคดีแพ่งโดยไม่จำกัดจำนวนทุนทรัพย์ว่าจะมากหรือน้อยเพียงใด”
ศาลฎีกา
ศาลฎีกา เป็นศาลชั้นสูงสุด ม.23 บัญญัติให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค และคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกา
ตามบัญญัติแห่งกหมายว่าด้วยการอุทธรณ์หรือฎีกา และคดีที่กฏมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจ พิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย คดีที่ศาลฎีกาได้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งแล้ว คู่ความไม่มีสิทธิ์ที่จะทูลเกล้า ถวายฎีกาคัดค้านคดีนั้นต่อไป หมายเหตุ บางเรื่องกฏมายห้ามฎีกา เช่น
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 บัญญัติห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงถ้าในคดีนั้นมีราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 บัญญัติ ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงถ้าคดีนั้นศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี หรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
- ห้ามโจทย์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงถ้าในคดีนั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ไม่ว่าจะมีโทษอย่างอื่นด้วยหรือไม่ก็ตามเช่นเดียวกับมาตรา 219 ที่บัญญัติห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงถ้าในคดีนั้นศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย ไม่เกินกำหนดที่ว่ามานี้ ทั้งนี้ภายใต้ข้อยกเว้นบางประการ ส่วนข้อกฏหมายนั้นคู่ความฎีกาได้เสมอ ศาลชำนัญพิเศษอื่น (ศาลเยาวชนและครอบครัว)วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิของเด็กและเยาวชน รวมทั้งช่วยเหลือและคุ้มครองสถานภาพของการสมรส สามี ภรรยา และ บุตร
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ
- ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัด มีอยู่ 8 จังหวัดคือ สงขลา-นครราชสีมา-เชียงใหม่-อุบลฯ- ระยอง-สุราษฎร์ฯ-นครสวรรค์ และ ขอนแก่น
- จะต้องมีผู้พิพากษาไม่น้อยกว่า 2 คนและผู้พิพากษาสมทบอีก 2 คน ซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรี จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาคดีได้
- มีสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนคู่กันไปทุกศาล
- เด็กหมายถึง บุคลอายุเกิน 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปี
- เยาวชนหมายถึงบุคคลอายุ 14 ปีแต่ไม่เกิน 18 ปี
ศาลแรงงาน
ศาลแรงงาน
มี 3 ประเภท คือ
1.ศาลแรงงานกลาง
2.ศาลแรงงานภาค
3.ศาลแรงงานจังหวัด
“ในกรณีที่คู่ความไม่พอใจคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานก็มีสิทธิอุทธรณ์เฉพาะในปัญหา ข้อกฏหมายไปยังศาลฎีกาได้”
ศาลภาษีอากร
ศาลภาษีอากร มี 2 ประเภท คือ ศาลภาษีอากรกลาง และศาลภาษีอากรจังหวัด ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ มี 2 ประเภทคือ
1.ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ
2.การค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศภาค
ศาลล้มละลาย
มี 2 ประเภท คือ ศาลล้มละลายกลางและศาลล้มละลายภาค ศาลปกครอง เป็นองค์กรอิสระขึ้นตรงต่อประธานศาลปกครองสูงสุด
- พ.ศ.2535 นายชวน หลีกภัย ได้กำหนดนโยบายให้มีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้น
- นายบรรหาร ศิลปะอาชา ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายจัดตั้งศาลปกครอง
- พลเอก เชาวลิต ยงใจยุทธ ร่าง พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองออกมาบังคับใช้ได้เป็นผลสำเร็จ
- ศาลปกครอง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่มีข้อพิพาททางกฎหมายปกครองระหว่างเอกชนกับหน่วย
งานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือระหว่างเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐด้วยกัน
- ศาลปกครองกำหนดโครงสร้างไว้เพียง 2 ชั้นคือ ศาลปกครองชั้นต้น และศาลปกครองสูงสุด
ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นองค์กรอิสระ ขึ้นตรงต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ
- เริ่มก่อตั้งภายหลังการปฏิวัติ พ.ศ.2475
- บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดๆมีข้อความขัดแย้งหรือขัดแก่รัฐธรรมนูญ ท่านว่าบทบัญญัตินั้นเป็น โมฆะ คณะ
ตุลาการรัฐธรรมนูญ ตั้งขึ้นเนื่องจากเกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายตุลาการในคดีอาชญากรสงครามช่วงที่นายทวี บุญยเกตุ เป็นรัฐบาล เพื่อเอาผิดกับบุคคลสำคัญในคณะรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่นำประเทศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2

จัดทำโดย น.ส. นิรุชา พูลสวัสดิ์ ชั้น ม.4/4 เลขที่ 24

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีคณะรัฐมนตรีทั้งหมด 59 คณะ ดังนี้
ครม.ที่ นายกรัฐมนตรี เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ ระยะเวลา สิ้นสุดลงโดย
1.) พระยามโนปกรณ์นิติธาดา(ก้อน หุตะสิงห์) 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 165 วัน ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475
2.) 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 1 เมษายน พ.ศ. 2476 รัฐประหาร โดยพระราชกฤษฎีกา
3.) 1 เมษายน พ.ศ. 2476 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ลาออก และรัฐประหาร (นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา บังคับให้ลาออก)
4.) พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน) 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 ลาออก (เลือกตั้งทั่วไป)
5.) 16 ธันวาคม พ.ศ. 2476 22 กันยายน พ.ศ. 2477 ลาออก (สภาไม่อนุมัติสนธิสัญญาจำกัดยางของรัฐบาล)
6.) 22 กันยายน พ.ศ. 2477 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 ลาออก (กระทู้เรื่องขายที่ดินพระคลังข้างที่)
7.) 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 สภาครบวาระ (เลือกตั้งทั่วไป)
8.) 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ยุบสภา(เลือกตั้งทั่วไป)
9.) จอมพล แปลก พิบูลสงคราม(หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 ลาออก (เปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีให้เหมาะสม)
10.) 7 มีนาคม พ.ศ. 2485 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ลาออก (สภาผู้แทนราษฎรไม่อนุมัติร่างพระราชบัญญัติ และพระราชกำหนด)
11.) พันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2487 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 ลาออก (สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลง)
12.) นายทวี บุณยเกตุ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 17 กันยายน พ.ศ. 2488 17 วัน ลาออก (เปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสมเข้ามาแทน)
13.) หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช 17 กันยายน พ.ศ. 2488 31 มกราคม พ.ศ. 2489 ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)
14.) พันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์ 31 มกราคม พ.ศ. 2489 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 ลาออก (แพ้มติสภาที่เสนอพระราชบัญญัติที่รัฐบาลรับไม่ได้)
15.) นายปรีดี พนมยงค์(หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) 24 มีนาคม พ.ศ. 2489 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2489 (เลือกตั้งทั่วไป)
16.) 11 มิถุนายน พ.ศ. 2489 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ลาออก (ถูกใส่ความกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8)
17.) พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์(หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์) 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ลาออก (หลังจากการอภิปรายทั่วไป 7 วัน 7 คืน)
18.) 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐประหาร นำโดยจอมพล ผิน ชุณหะวัณคณะทหารแห่งชาตินำโดย จอมพล ผิน ชุณหะวัณ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 3 วัน ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
19.) พันตรี ควง อภัยวงศ์หลวงโกวิทอภัยวงศ์ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 ลาออก (เป็นรัฐบาลรักษาการเพื่อจัดเลือกตั้งทั่วไป)
20.) 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 8 เมษายน พ.ศ. 2491 ลาออก (คณะรัฐประหารบังคับให้ลาออกภายใน 24 ชั่วโมง (รัฐประหารเงียบ)
21.) จอมพล แปลก พิบูลสงคราม(หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ) 8 เมษายน พ.ศ. 2491 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 (เลือกตั้งทั่วไป)
22.) 25 มิถุนายน พ.ศ. 2492 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 คณะบริหารประเทศชั่วคราวประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2475 อีกครั้งหนึ่งไปพลางก่อน (รัฐประหารตนเอง)
23.) 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494 มีการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ขึ้นใหม่24 6 ธันวาคม พ.ศ. 2494
24.) มีนาคม พ.ศ. 2495 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2495 (เลือกตั้งทั่วไป)
25.) 24 มีนาคม พ.ศ. 2495 21 มีนาคม พ.ศ. 2500 สภาผู้แทนราษฎรครบวาระ (เลือกตั้งทั่วไป)
26.) 21 มีนาคม พ.ศ. 2500 16 กันยายน พ.ศ. 2500 รัฐประหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์คณะทหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ในฐานะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 21 กันยายน พ.ศ. 2500 5 วัน แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
27.) นายพจน์ สารสิน 21 กันยายน พ.ศ. 2500 1 มกราคม พ.ศ. 2501 ลาออก (เลือกตั้งทั่วไป) 28.) จอมพล ถนอม กิตติขจร 1 มกราคม พ.ศ. 2501 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ลาออกและรัฐประหาร นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ คณะปฏิวัติ นำโดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
29.) จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506 นายกรัฐมนตรีถึงแก่อสัญกรรม
30.) จอมพลถนอม กิตติขจร 9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2511(เลือกตั้งทั่วไป)
31.) 7 มีนาคม พ.ศ. 2512 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 รัฐประหาร โดยจอมพล ถนอม กิตติขจร (รัฐประหารตนเอง) คณะปฏิวัติ นำโดยจอมพล ถนอม กิตติขจร 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 17 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
32.) จอมพล ถนอม กิตติขจร 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ลาออก (เกิดเหตุการณ์14ตุลา)
33.) นายสัญญา ธรรมศักดิ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ลาออก (อ้างเหตุร่างรัฐธรรมนูญไม่เสร็จ) 34.) 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 (เลือกตั้งทั่วไป)
35.) หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 ไม่ได้รับความไว้วางใจ จากส.ส. ในการแถลงนโยบาย
36.) พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช 14 มีนาคม พ.ศ. 2518 20 เมษายน พ.ศ. 2519 ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)
37.) หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช 20 เมษายน พ.ศ. 2519 25 กันยายน พ.ศ. 2519 ลาออก (วิกฤตการณ์จอมพล ถนอม กลับประเทศเพื่ออุปสมบท)
38.) 25 กันยายน พ.ศ. 2519 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 11 วัน รัฐประหาร โดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินนำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 2 วัน แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519 เป็นผลให้คณะปฏิรูปฯ แปรสภาพเป็น สภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
39.) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 8 ตุลาคม พ.ศ. 2519 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 รัฐประหาร โดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ คณะปฏิวัติ นำโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 1 เดือน ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2520 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
40.) พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 (เลือกตั้งทั่วไป)
41.) 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 ลาออก (วิกฤตการณ์น้ำมันและผู้ลี้ภัย)
42.) พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 30 เมษายน พ.ศ. 2526 ยุบสภา(เลือกตั้งทั่วไป)
43.) 30 เมษายน พ.ศ. 2526 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)
44.) 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)
45.) พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ สิงหาคม พ.ศ. 2531 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ลาออก แล้วจัดตั้งรัฐบาลใหม่
46.) 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 รัฐประหาร นำโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 1 มีนาคม พ.ศ. 2534 5 วัน ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
47.) นายอานันท์ ปันยารชุน 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 7 เมษายน พ.ศ. 2535 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 (เลือกตั้งทั่วไป)
48.) พลเอก สุจินดา คราประยูร 7 เมษายน พ.ศ. 2535 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ลาออก (เกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ)นายมีชัย ฤชุพันธุ์ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535
49.) นายอานันท์ ปันยารชุน 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 23 กันยายน พ.ศ. 2535 ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)
50.) นายชวน หลีกภัย 23 กันยายน พ.ศ. 2535 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)
51.) นายบรรหาร ศิลปอาชา 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ยุบสภา(เลือกตั้งทั่วไป)
52.) พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ลาออก (วิกฤตการณ์เศรษฐกิจ)
53.) นายชวน หลีกภัย 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ยุบสภา (เลือกตั้งทั่วไป)
54.) พันตำรวจโท ดร. ทักษิณ ชินวัตร 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 1461 วัน สภาฯ ครบวาระ 4 ปี
55.) 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ยุบสภาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 แต่ต่อมาถูกศาลพิพากษาให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ต่อมาเกิด รัฐประหาร โดยพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ระหว่างที่ ครม.รักษาการเพื่อรอการเลือกตั้งครั้งใหม่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ (คปค.)นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน 19 กันยายน พ.ศ. 2549 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 12 วัน ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 และแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่
56.) พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 29 มกราคม พ.ศ. 2551 486 วัน ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 (เลือกตั้งทั่วไป)
57.) นายสมัคร สุนทรเวช 29 มกราคม พ.ศ. 2551 9 กันยายน พ.ศ. 2551 223 วัน ศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะกระทำการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 18 กันยายน พ.ศ. 2551 9 วัน
58.) นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ 18 กันยายน พ.ศ. 2551 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 75 วัน ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ยุบพรรคพลังประชาชนและตัดสิทธิ์ทางการเมืองของคณะกรรมการบริหารพรรคคนละ 5 ปีนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 15 วัน
59.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปัจจุบัน

จัดทำโดย น.ส. นิรุชา พูลสวัสดิ์ ชี้น ม.4/4 เลขที่ 24