ก้าวทันโลกศึกษา2หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

กฏหมายแพ่งและกฏหมายอาญา
กฎหมายแพ่ง

1. กฎหมายแพ่ง     คือกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก กฎหมายแพ่งที่เกี่ยวกับครอบครัวเป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเองและครอบครัว ดังนี้
1.1 การหมั้น  เป็นการที่หญิงชายตกลงทำสัญญาว่าจะทำการสมรสกัน  การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบทรัพย์อันเป็นของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิง  แต่ในการสมรสนั้นไม่ได้บังคับว่าจะมีการหมั้นก่อน แต่ถ้าหมั้นก็จะมีผลผูกพันกัน   ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการหมั้น  เช่น  ของหมั้นจะตกเป้นสิทธิแก่หญิงทันที เมื่อมีการหมั้นแล้ว  ไม่ว่าชายหรือหญิงตาย  ฝ่ายหญิงก็ไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายเป็นต้น 
เกณฑ์การหมั้นตามกฎหมายนั้น  คือ  ชาย หญิงจะหมั้นต้องมีอายุครบ  20  ปีบริบูรณ์จึงจะมีอำนาจที่จะทำการหมั้นได้โดยลำพังตนเอง แต่ถ้ามีอายุครบ 17  ปีบริบูรณ์จะทำการหมั้นได้ต้องมีพ่อแม่หรือผู้ปกครองยินยอมก่อน  เป็นต้น
       การหมั้นที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นถือเป็นโมฆะ  เหตุที่กฎหมายกำหนดอายุของหญิงและชายไว้  ก็เพราะการหมั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของชายและหญิง  เมื่อจะทำสัญญาหมั้นกันจึงควรให้ชายและหญิงที่จะหมั้นอยู่ในวัยที่จะรู้เรื่องการหมั้นได้ตามสมควร  กฎหมายถือว่าชายหญิงที่มีอายุต่ำกว่า  17  ปีบริบูรณ์  ไม่อยู่ในวัยที่จะรู้เรื่องการหมั้น  การสมรส แม้บิดามารดาจะยินยอมก็ตามเ
1.2  การรับรองบุตร  เป็นการให้การยอมรับบุตรซึ่งเกิดจากหญิงที่เป็นภรรยาโดยมได้จดทะเบียนสมรส  ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิง  แต่เป็นบุตรนอกกฎหมายของชาย  กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้ชายจดทะเบียนรับรองบุตร  ซึ่งจะทำให้เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนับตั้งแต่วันที่ชายจดทะเบียน  แต่ถ้าเป็นบุตรนอกสมรสแต่ต่อมาชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันก็ไม่ต้องจดทะเบียบรับรองบุตรอีก   การจดทะเบียนบุตรมี 2 วิธี คือการรับรองบุตรด้วยความสมัครใจของชายผู้เป็นบิดา และการรับรองบุตรโดยคำพิพากษาของศาลให้เด็กผู้นั้นเป็นบุตรของชายผู้เป็นบิดา
1.3 กฎหมายแพ่งเกียวกับมรดก
กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับมรดกกำหนดว่าเมื่อบุคคลใดตาย   และทำพินัยกรรมไว้  มรดกจะตกทอดแก่บุคคลที่ผู้ตายระบุไว้ในพินัยกรรม  หากไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้มรดกจะตกทอดแก่บุคคลที่เป็นทายาทและคู่สมรส
    กองมรดก  ได้แก่  ทรัพย์ทุกชนิดของผู้ตาย  รใมทั้งสิทธิและหน้าที่   ตลอดทั้งความรับผิดชอบต่างๆเกี่ยวกับทรัพย์สิน  เป็นต้นว่าหนี้สิน  เว้นแต่กฎหมาย หรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เช่นสิทธิในการเข้าสอบ  หรือสิทธิในการมีอาวุธปืน  การตายของเจ้าของมรดกมีความยหมาย สองกรณี  คือตายหรือสิ้นชีวิตไปตามจริงตามใบมรณบัตร หรือศาลสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ บุคคลที่จะได้รับมรดกของผู้ตายได้แก่  ทายาท  วัด  แผ่นดิน  บุคคลภายนอกนี้ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายเลย
ทายาทแบ่งออกเป็นสองประเภท 
1. ทายาทโดยธรรม  เป็นทายาทตามสิทธิกฎหมาย  ได้แก่  ญาติ  และคู่สมรส  และทายาทที่แบ่งออกเป็นหกชั้นคือ
1.1 ผู้สืบสันดาน
1.2 บิดามารดา
1.3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
1.4 พี่น้องที่ร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
1.5 ปู่ย่า  ตายาย
1.6 ลุง  ป้า  น้า อา
2.ผู้รับพินัยกรรม  พินัยกรรม ได้แก่  คำสั่งยกทรัพย์สินหรือแบ่งทรัพย์สิน หรือวางข้อกำหนดใดๆอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเมื่อตายไปแล้ว หรือกรณีอื่นๆที่กฎหมายรับรองมีผลเมื่อตายไปแล้ว  เช่น การตั้งเป็นผู้ปกครองเด็ก  เป็นต้นและต้องทำให้ถูกกฎหมายกำหนดไว้ด้วย  จึงจะมีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย  ผู้รับพินัยกรรม ได้แก่  ผู้ที่มีชื่อระบุไว้ในพีนัยกรรม



กฎหมายอาญา
คือ กฎหมายที่วางบทบัญญัติว่าด้ยความผิด  และการกำหนดโทษ ซึ่งจะลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดนั้น  กฎหมายอาญาได้แก่  ประมวลกฎหมายส่วนสำคัญนอกจากนั้นยังหมายถึง กฎหมายอื่น ที่มีบทลงโทษทางอาญาด้วยิเช่นพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ  พระราชบัญญัติอาวุธปืน  เครื่องกระสุน  พระราชบัญญัติการพนัน การประมวลรัษฎากรในส่วนบัญญัติถึงความผิดและการกำหนดโทษผู้ที่ฝ่าฝืนเกี่ยวกับภาษีอากร  เป็นต้น
บุคคลจะต้องได้รับโทษทางกฎหมายอาญา  เมื่อกระทำการใดๆซึ่งกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นบัญญัติเป็นความผิด  ซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า "ไม่มีความผิดใดปราศจากกฎหมาย" และกฎหมาย ที่ใช้ในขณะกระทำผิดนั้นต้องกำหนดโทษไว้ด้วย  ซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า "ไม่มีโทษใดไม่มีกฎหมาย" โทษที่จะเกิดขึ้นต้องเป็นที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น  กฎหมายกำหนดโทษปรับ  ศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้แม้ว่าศาลจะลงโทษปรับ  ศาลก็จะลงโทษปรับเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดไม่ได้
องค์ประกอบความผิดในทางอาญา  ซึ่งทุกความผิดต้องมีองค์ประกอบคือ
1. ต้องมีการกระทำ
2.ต้องมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและการกำหนดโทษไว้
3. ต้องมีเจตนา
ความผิดในทางอาญา
บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญา  เมื่อมีการกระทำ ดังนี้ 
1.) การกระทำโดยเจตนา   เป็นการกระทำโดยรู้สำนึก  คือการที่ผู้กระทำรู้สึกในการเคลื่อนไหวของร่างกายด้วยตนเอง  ในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลที่จะเกิดตามที่คิดไว้  หรือผู้กระทำย่อมเล็งเห็นผลในการกระทำนั้น สำหรับการกระทำที่เกิดจากคนละเมอ  คนวิกลจริต  หรือถูกผู้ที่แข็งแรงกว่าจับให้ทำร้ายผู้อื่นจึงไม่ใช้กากระทำโดยรู้สำนึกของผู้นั้น
ตัวอย่างเช่น
นายแก้วใช้มีดปลายแหลมแทงนายก้อนในเวลากลางวัน  โดยเลือกแทงที่ท้องนายก้อน  แทงช่องท้องถูกอวัยวะภายในของนายก้อน  นายก้อนตายในวันนั้นเอง  เช่นนี้นายแก้วมีความผิดทางอาญา  เพราะมีเจตนาฆ่านายก้อน
2.)การกระทำโดยไม่เจตนา  ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้รับผิดชอบแม้กระทำโดยไม่เจตนา  การกระทำโดยไม่เจตนาเป้นการกระทำโดยรู้สำนึก  แต่ผู้กระทำไม่ประสงค์ต่อผลหรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำว่าจะเกิดขึ้น  แต่กลับเกิดขึ้น   ซึ่งจะเป็นการกระทำโดยเจตนาหรือไม่จึงต้องดูจากการกระทำของผู้นั้น
ตัวอย่าง
นายนกและนายหมูเมาสุราพายเรือมาด้วยกันเกิดเถียงกันขึ้น  นายนกใช้ไม้พายตีนายหมูที่หน้าหนึ่งที  บาดแผลฟกช้ำโลหิตไหลซึม  เรือล่มนายหมูจมน้ำตาย แต่นายนกมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา  เพราะนายนกไม่มีเจตนาฆ่าเพียงแตเจตนาทำร้าย  โดยใช้ไม้พายตีนายหมู
3.)การทำโดยประมาท   ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดชอบมิใช่โดยเจตนา  แต่กระทำโดยประมาท  การกระทำโดยประมาท  ได้แก่ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา  แต่การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง  ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์  และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้  แตหาใช้ให้เพียงพอไม่
ตัวอย่าง
นายเกริกเอากรรไกรขว้างหยอกล้อกับนางเก๋ผู้เป็นภรรยาซึ่งรักใคร่กันดี กรรไกรโดนประตูสะท้อนมาโดนข้อเท้า  ของนางเก๋  ถูกเส้นเลือดใหญ่ขาด  เลือดไหลไม่หยุด  นางเก๋ตาย  นายเกริกมีความผิดฐานกระทำให้คนตายโดยประมาท  เป็นต้น

จัดทำโดย น.ส.นิรุชา พูลสวัสดิ์ ม.4/4 เลขที่ 24